Favorite
พอได้เข้าห้างสรรพสินค้าทีไร จิตใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว เห็นอะไรก็อยากจะได้ไปหมด ยิ่งของกินและของใช้ในบ้านด้วยแล้วนั้น เรียกได้ว่าหยิบเพลินตลอด รู้ตัวอีกทีคือตอนคิดเงิน หากใครไม่อยากรู้ตัวเมื่อสาย ต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการไปห้างฯ กันหน่อยแล้ว!!!
1. ลิสต์รายการของที่ต้องใช้เท่านั้น
เขียนมาเลยทีละข้อ เริ่มตั้งแต่ของจำเป็น อย่างของใช้ในบ้าน อันไหนหมดอะไรต้องเติม รวมไปถึงของกินต่างๆ อย่างพวกเครื่องปรุงอาหาร มาม่า โจ๊ก นม และค่อยไปพวกขนม เพราะบอกเลยว่าสิ่งที่ฟุ่มเฟือยคือของกินเล่นนี่แหละ ต่อด้วยของอื่นๆ ที่อยากได้แต่ยังไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ ซึ่งที่บ้านก็มีอยู่แต่ก็อยากได้ อย่างเช่นพวกเสื้อผ้า และจิปาถะอื่นๆ ให้เป็นตัวเลือกสุดท้ายจริงๆ
2. ยึดงบประมาณที่กำหนดไว้
มาพร้อมกับกำหนดงบในการใช้จ่ายของเหล่านี้ สมมติว่าจะไปห้างสรรพสินค้า ให้กดเป็นเงินสดเตรียมไว้เลยก็ได้ ว่าวันนี้จะใช้เท่านี้นะ 2,000 บาท ห้ามเกินห้ามไปกดเพิ่ม หรือถ้าจะรูดบัตรก็ต้องหักห้ามใจไม่ให้มากกว่าที่กำหนดไว้เด็ดขาด
3. จิตใจมั่นคงไม่ว่อกแว่ก
เป้าหมายมีไว้พุ่งชนดังนั้น ถ้าเรารู้แล้วว่าจะต้องซื้ออะไร และต้องไปที่ไหนให้ไปที่นั่นทันทีอย่าได้ลังเลหรือแวะเรื่อยเปื่อย เพราะถ้าเราไม่เห็นของล่อตาล่อใจหรือป้าย Sale ก็จะทำให้เราไม่ต้องเสียสตางค์โดยใช่เหตุ ประกอบกับการกินข้าวในห้างถ้าเดือนไหนเราช็อตจริงๆ อย่าได้เข้าร้านอาหารเชียว ต้องเสียไม่ต่ำกว่า 500-1,000 บาทแน่นอน ไปแค่ร้านที่ต้องซื้อเท่านั้น
4. เทียบโปรโมชั่นที่ถูกและดีไม่ใช่เรื่องน่าอาย
จะซื้อของ ต้องเปรียบเทียบราคาและความคุ้มค่า แบรนด์ไหนจัดโปรโมชั่นลดราคา และถูกสุดดีสุดค่อยเลือกซื้อ ถึงแม้จะลดสิบบาทยี่สิบบาทแต่พอรวมหลายอย่างก็ลดเป็นร้อย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคอยสังเกตด้วยว่า ราคาที่ลดคือลดจริงรึเปล่าหรือเป็นราคาปกติอยู่แล้ว และต่อให้มีสินค้าอย่างอื่นที่ลดแต่ไม่ได้อยู่ในลิสต์รายการ ให้ดูถึงความจำเป็นว่าต้องใช้จริงไหมอย่าแค่เห็นว่าเป็นของเซลล์
5. อดทนไว้อย่าอ่อนแอ
ซื้อเป็นของขวัญให้ตัวเองนิดหน่อยไม่น่าเป็นไรหรอกมั้ง เมื่อไหร่ก็ตามที่มีคำว่ามั้งอยู่ในหัวนั่นหมายความว่า เรารู้ตัวเองดีอยู่แล้วว่าของที่อยากได้นั้นยังไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น ให้ลองกลับไปนอนคิดซะประมาณ 2 สัปดาห์หรือจะเดือนเลยก็ไม่ผิดเพื่อดูว่ายังอยากได้อยู่ไหม เพราะบางทีเราอาจจะลืมไปแล้วก็ได้ หรือคิดเสียว่าเก็บเงินไว้ใช้คราวหลังน่าจะดีกว่า เผื่อมีของที่อยากได้มากกว่านี้
เข้าใจได้ว่าคนเราก็ต้องอยากซื้อของที่ดีต่อใจมากกว่าดีต่อเงิน จึงไม่ได้บอกว่าต้องใช้แผนนี้ตลอดทุกครั้งที่ไปห้างสรรพสินค้า แต่เอาไว้ใช้สำหรับเดือนไหนที่คิดว่าประหยัดไว้จะดีกว่า เดือนไหนผ่อนปรนได้ก็ค่อยแบ่งเงินไปซื้อของที่ต้องการ แต่อย่าลืมว่าการประหยัดต้องมากกว่าการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายนะทุกคน
10 คอนโดมีที่จอดรถ 100% ขึ้นไป จบปัญหาไม่ต้องแย่งชิงกับเพื่อนบ้าน
2024-08-16
TOP 10 ประเทศที่มีราคาที่พักอาศัยต่อตารางเมตรแพงที่สุดในโลก ปี 65
2022-12-28
โดนเวนคืนที่ดิน ได้เงินเท่าไหร่ จะเช็กได้ยังไงว่าเราอยู่แนวเวนคืน
2024-07-31
ปล่อยเช่าคอนโดยังไง ให้โดนใจคน Gen Z
2019-07-26
💰 ผ่านมาครึ่งปีแรก 2566 อสังหาฯแต่ละเจ้า กอบโกยรายได้คว้ากำไรไปเท่าไหร่กันบ้าง?
2023-08-19
ขอบคุณความรู้ดีๆ ค่ะ เป็นประโยชน์
ชอบบทความดีไซด์มากเลยค่ะ ได้ไอเดียไปด้วย
โดยรวมโอเค พัฒนาต่อไปครับ
ได้ไอเดียไปแต่งห้องตัวเองหลายอย่างเลย
ชอบลิฟวิ่งอินไซเดอร์มากค่ะ มีบทความดีๆให้อ่านแบบนี้ตลอดไปน่ะค่ะ
ดีไปหมด ไม่มีที่ติเลยจ๊ะ