สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติ (22มี.ค.59) เห็นชอบกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ นำร่องในปี2559 จำนวน 5แปลงในพื้นที่ 4จังหวัดได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เพชรบุรี โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา กรมธนารักษ์ได้เปิดซองประมูลโครงการโดยมีบริษัทเอกชน 6รายเข้าประมูล ทั้งนี้คาดว่าภายในเดือนกรกฤฏาคมนี้จะพิจารณาคัดเลือกผู้พัฒนาโครงการบนที่ดินดังกล่าวได้
2สัปดาห์รู้ผลพื้นที่ไหนใครได้
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยถึงการเปิดซองประมูลก่อสร้างโครงการ “บ้านธนารักษ์ประชารัฐ” ว่า ขณะนี้เป็นที่ทราบกันว่า หลังจากที่เปิดให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สนใจเข้ารับซองเพื่อยื่นเสนอรูปแบบของโครงการจาก 17 ราย ปรากำว่ามีผู้สนใจและเสนอโครงการที่พร้อมพัฒนาแล้วรวม 6 ราย โดยเป็นทั้งบริษัทไทยที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทท้องถิ่น และบริษัทที่มีการร่วมทุนระหว่างไทยและจีน ซีงกรมธนารักษ์คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ก็จะรู้ผลว่าใครที่ที่แปลงใดบ้างในจำนวน 5 แปลง 4 จังหวัด จากนั้นจะเร่งให้ผู้ที่ชนะโครงการดำเนินการก่อสร้างภายใน 6 เดือนหลังจากที่โครงการผ่านการกระเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA)
กทม./สสถาปนิกฯร่วมตัดสิน สำหรับรูปแบบการคัดเลือกนั้นจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) สมาคมสถาปนิกสยามเข้ามาร่วมตัดสินเพื่อให้โครงการมีความโปร่งใส โดยยืนยันว่ารูปแบบการก่อสร้างขต้องมีความทันสมัย มีระบบบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะโครงการเช่าสิทธิระยะยาวที่นานถึง 30 ปี
เปิดให้เช่าสิทธิ์5ปีและ30ปี นายจักรกฤศฏิ์ ยังกล่าวถึงรูปแบบการนำเสนอการเช่า การบริหารโดยมีนิติบุคคลของโครงการว่า จะต้องมีความชัดเจนตั้งแต่ค่าเช่า-ค่าส่วนกลาง โดยแบ่งรูปแบบการให้คะแนนโครงการเช่าระยะสั้น 5 ปีคือ แปลงบนที่ดินในเขตกรุงเทพ คือ บริเวณถนนประดิพัทธ์ (โรงกษาปณ์เก่า) และ2.บนถนนพหลโยธิน ตรงข้ามวัดไผ่ตัน โดยจะมีเกณฑ์ 4 ข้อ คือ 1.มูลค่าโครงการ 30 คะแนน 2.คุณภาพโครงการ 40 คะแนน 3.แผนการก่อสร้าง 20 คะแนน ที่จะต้องก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ภายใน 2 ปี ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการก่อสร้างและการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และ 4. แผนบริหารจัดการหลังก่อสร้าง 20 คะแนน รวม 100 คะแนน
ขณะที่รูปแบบที่ 2 เป็นโครงการเช่าสิทธิระยะยาว คือ ลีสโฮลด์ (Leasehold) ระยะเวลา 30 ปีนั้น แบ่งเกณ์การให้คะแนนออกเป็น 4 ด้าน คือ 1.ราคาขายต่อหน่วย โดยอาจเป็นรูปแบบห้องชุด บ้านแถม ทาวน์เฮาส์ ราคาต้องไม่เกิน 1 ล้านบาท รวม 20 คะแนน, 2.คุณภาพโครงการ ครอบคลุมวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง รูปแบบความสวยงามของโครงการที่ต้องสอดคล้องกับพื้นที่ใช้สอย รวม 40 คะแนน 3.แผนงานก่อสร้างที่ต้องก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ภายใน 2 ปี เช่นเดียวกันโครงการเช้าระยะสั้น 20 คะแนน ที่กำหนดไว้ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ครอบคลุมกกระบวนการก่อสร้างและการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และแผนบริหารจัดการหลังก่อสร้าง รวม 20 คะแนน รวม 100 คะแนน
เปิดช่องโอนให้ธพส.บริหาร ส่วนกระบวนการที่กรมธนารักษ์เน้นเป็นพิเศษ คือ โครงการจะต้องจัดตั้งนิติบุคคลเข้ามาบริหาร หรือหากไม่มีความถัดในการบริหารจัดการโครงการแล้วเนื่องจากเป็นโครงการเช่าระยะยาว ก็สามารถกำหนดในแผนเอาไว้อย่างชัดเจนว่า จะส่งมอบให้บริษัท ธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) เข้ามาบริหารต่อในรูปแบบใด เนื่องจากยอมรับว่า ผู้พัฒนาโครงการส่วนใหญ่มีความชำนาญในการก่อสร้างในลักษณะขายขาดแต่ไม่มีความชำนาญในการเช่าระยะยาว โดยบางพื้นที่เป็นการเช่าสิทธินานสูงสุดถึง 30 ปี ดังนั้นการกำหนดรูปแบบจะต้องทำให้รัดกุมเช่นกัน
เช็กพื้นที่ไหนรายใดจองชิงดำ
อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีเอกชนที่สนใจเข้าประมูลเพื่อพัฒนาโครงการแล้ว 6 ราย คือ 1.บริษัท กลอรี่ แมนเนจเมนท์ จำกัด สนใจพัฒนาโครงการทั้ง 2 แปลงที่จังหวัดเพชรบุรี (อ.ชะอำ) โดยแปลงที่ 1 เป็นรูปแบบ ทาวน์เฮาส์ 2ชั้น เนื้อที่ 30 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 56-75 ตารางเมตร จำนวน 377 หลัง ส่วนแปลงที่ 2 เป็นรูปแบบทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ขนาดเนื้อที่ 30 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 56-75 ตารางเมตร รวม 283 หลัง (เป็นการเช่าระยะยาว 30 ปี) 2. บริษัทปักกิ่ง เออร์บัน-คอนสตรัคชั่น ยาไถ่ (ไทย) คอนสตรั่คชั่น กรุ๊ป จำกัด ที่สนใจพัฒนาโครงการ 2 แปลง คือ บริเวณถนนประดิพัทธ์ (โรงกษาปณ์เก่า) พื้นที่ใช้สอย 28ตารางเมตร จำนวน 350 ห้อง ความสูง 8 ชั้น รวม 2 หลังและถนนพหลโยธิน ตรงข้ามวัดไผ่ตัน โดยเสนอรูปแบบโครงการสูง 8ชั้นรวม 2 อาคาร พื้นที่ใช้สอย 28 ตารางเมตร จำนวน 420 ห้อง
3. บริษัท พีซีซี โพสเทนชั่น จำกัด สนใจพัฒนา 1 โครงการบนที่ดินที่จังหวัดจังหวัดเชียงใหม่ รุปแบบโครงการเป็นแบบ อาคารชุดสูง 8ชั้น รวม 4 อาคาร ขนาดพื้นที่ใช้สอย 31-45 ตารางเมตร จำนวน 657 ห้อง, 4.บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) สนใจพัฒนาโครงการรวม 3 แปลง คือ 1.บริเวณถนนประดิพัทธ์ (โรงกษาปณ์เก่า) พื้นที่ใช้สอย 23 ตารางเมตร จำนวน 335 ห้อง ความสูง 8 ชั้น จำนวน 1หลัง และ2.บนถนนพหลโยธิน (ตรงข้ามวัดไผ่ตัน) พื้นที่ใช้สอย 22.5-23 ตารางเมตร จำนวน 375 ห้อง ความสูง 5 ชั้นรวม 5 หลัง และที่ดินแปลงจังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเป็นแบบทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น เนื้อที่ 16.6 ตารางวา ขนาดพื้นที่ใช้สอย 66 ตารางเมตร รวม 160 หลัง
สำหรับรายที่ 5. คือ บริษัท อารียา แมนเนจเมนท์ จำกัด สนใจพัฒนาโครงการบนที่ดินแปลงที่จังหวัดเชียงใหม่ สนใจพัฒนาโครงการ บนที่ดินแปลงจังหวัดเชียงใหม่ ในลักษณะของอาคารชุด 8 ชั้น รวม 4 อาคาร ขนาดพื้นที่ใช้สอย 28 ตารางเมตร รวม 935 ห้อง และ 6.บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) สนใจพัฒนา 2 โครงการบริเวณถนนประดิพัทธ์ (โรงกษาปณ์เก่า) ลักษระอาคารสูง 8 ชั้น 1 หลัง บนพืท้นที่ใช้สอย 25 ตารางเมตร จำนวน 250 ห้อง และถนนพหลโยธิน ตรงข้ามวัดไผ่ตัน พื้นที่ใช้สอย 25 ตารางเมตร จำนวน 432 ห้อง ความสูง 8 ชั้นรวม 2 อาคาร
เล็งเปิดประมูลเฟสสองต่อ
อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ดีหากดูโครงการตลอดจนรูปแบบที่เสนอมาทั้ง 6 ราย ถือว่าน่าสนใจมาก ถึงแม้จะยังเหลือ 1 แปลงที่ไม่มีบริษัทไหนสนใจ คือ อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะที่ดินอยู่ไกล แน่นอนว่าส่งผลต่อความสนใจเข้าอยู่อาศัย แม้โครงการจะเปิดให้ผู้สนใจถือครองสิทธิ์ได้ยาวนานถึง 30 ปี ซึ่งทางกรมธนารักษ์ต้องนำที่ดินกลับมาประเมินอีกครั้งเพื่อเตรียมพร้อมให้เอกชนที่อาจยังสนใจพัฒนาร่วมกับพื้นที่ระยะที่ 2 โดยน่าจะเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าเสนอรูปแบบการพัฒนาได้เร็วที่สุดภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ได้แก่แปลงพื่นที่บริเวณช่องนนทรี กรุงเทพฯ รวม 2ไร่,อ.ลำลูกกา แปลงพื่นทีจ.ปทุมธานี พื้นที่รวม 7ไร่ แปลงพื้นที่จ.ฉะเชิงเทรา รวม 44ไร่ และพื้นที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี พื้นที่รวม 3ไร่ ลักษณะการดำเนินการโครงการเป็นแบบเช่าระยะยาว
เคาะเกณฑ์ คนมีสิทธิ์จอง
ทั้งนี้สำหรับข้าราชการ ตลอดจนผู้สนใจที่เข้าอยู่อาศัยในโครงการ หากเป็นโครงการในต่างจังหวัดจะต้องมีคุณสมบัติคือ เป็นบ้านหลังแรก โดยบางพื้นที่กำหนดว่าเปิดเฉพาะข้าราชการและลูกจ้าง ซึ่งสนใจต้องตรวจสอบสิทธิเพื่อให้สามารถได้รับการพิจารณาได้ถูกต้องซึ่งสามารถไปลงทะเบียนขอยื่นรับสิทธิในการคัดเลือกเข้าอยู่อาศัยในโครงการทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัดได้ที่ธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อรอกระบวนการสุ่มรายชื่อผู้ที่ได้รับสิทธิ์ คาดว่าจะเริ่มชัดเจนภายในสิ้นปีนี้ โดยกรมฯ เตรียมประสานวงเงินก่อสร้างทั้งระบบรวม 9 พันล้านบาท
เคือข่ายการเมืองร่วมแจม
ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลของ “ฐานเศรษฐกิจ” พบว่า โครงการบ้านธนารักษ์ระยะที่ 1 ที่มีเอกชนสนใจพัฒนาแล้วรวม 5 แปลงบน 3 จังหวัดนำร่องนั้น นอกเหนือจากกลุ่มบริษัทชื่อดังอย่างบมจ.ศุภาลัย และบมจ.อารียา พรอพเพอร์ตี้และบริษัทอารียา แมนเนจเมนท์แล้ว ยังมีกลุ่มผู้รับเหมาถึง 3 ราย โดยบริษัท กลอรี่ แมนเนจเมนท์ จำกัด ประกอบกิจการประเภทรับจ้างบริหารทรัพย์สิน ขายอาคารชุด โดยเป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท กลอรี่ คอนสตรั๊คชั่น จำกัด ของตระกูลดังรักตพงศ์ไพศาล โดยที่ตระกูลนี้มีนนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยื่นเสนอพัฒนาโครงการที่จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 2 แปลง ซึ่งเป็นรายเดียวที่เสนอโดยไม่มีคู่แข่ง เช่นเดียวกับบริษัท ปักกิ่ง เออร์บัน-คอนสตรัคชั่น ยาไถ่ (ไทย) คอนสตรัคชั่นกรุ๊ป จำกัด ประกอบธุรกิจด้านซื้อ-ขายที่ดิน สร้างและขายสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บริการด้านการขาย บริหารการตลาด บริหารจัดการธุรกิจอสังหาฯเคยก่อสร้างอาคารสำนักงานให้เช่า เอ็มเอส สยามทาวน์เวอร์ โดยบริษัททุนศรีสยามของดร.บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง ซึ่งเป็นอีกตระกูลดังโดยยื่นซองพัฒนาแปลงที่กรุงเทพฯทั้ง 2 แปลง และบริษัท พีซีซี โพสเทนชั่น จำกัด ประกอบกิจการประเภทการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง บริษัทในเครือ พีซีซี กรุ๊ปฯ มีสำนักงานใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ยื่นซองเพื่อขอพัฒนาโครงการที่จังหวัดเชียงใหม่
LPN/พฤกษา แจงเหตุไม่ยื่นซอง
แหล่งข่าวจากบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยถึงสาเหตุของการไม่เข้าร่วมยื่นซองประกวดราคาว่า กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร หรือไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติ อย่างกรณีโครงการเช่าระยะสั้น 5 ปี ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงรุ่นผู้อยู่อาศัย ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ดี แต่ในหลักความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ เนื่องจากโดยพฤติกรรมของผู้เช่าแล้วเมื่อคุ้นชินในพื้นที่หรือแหล่งที่พักอาศัยก็มักจะไม่ยอมเปลี่ยนที่อยู่ง่ายๆ ซึ่งบริษัทมีงานบริหารอาคารจะรับรู้ถึงปัญหาในส่วนนี้เป็นอย่างดี
อีกทั้งในส่วนของพื้นที่ที่นำมาจัดสรรไม่ได้อยู่ใกล้กับแหล่งทำงานของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจทำให้คนในกลุ่มนี้ต้องมีภาระค่าเดินทางเพิ่มขึ้นมา โดยปัจจุบันผู้บริโภคในกลุ่มนี้ก็ประสบปัญหาเรื่องภาระหนี้อยู่แล้ว หากจะต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการเดินทางเพิ่มเข้ามาอาจไม่คุ้มกับการพัฒนาโครงการ ประกอบกับบริษัทก็ผลิตสินค้าในระดับราคานี้อยู่แล้ว จึงเป็นเหตุผลที่บริษัทไม่เข้าร่วมยื่นซองประกวด
แหล่งข่าว บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS ที่ระบุว่า ที่ดินที่นำมาร่วมโครงการยังไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งบริเวณโดยรอบยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ อาทิร้านค้า ร้านอาหาร ระบบการขนส่ง ฯลฯ ด้วยเหตุผลเหล่านี้บริษัทมองว่าอาจไม่คุ้มกับการพัฒนาโครงการ อีกทั้งบริษัทก็มีสินค้าในระดับราคานี้อยู่แล้ว
รายละเอียดครบถ้วนมาก ตอบทุกข้อสงสัยเลยครับ
บทความดีๆ ก็ที่นี่หล่ะนะ
5 ดาวไปเลยครับ
ชอบมากค่ะ ชอบทุกบทความเลย
มีประโยชน์มากๆค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่ะค่ะ
ไม่ต้องไปดูห้องจริงเลยค่ะ รีวิวแน่นมากค่ะ ทั้งข้อมูล และภาพ